Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
|    

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

[30-09-2016] นักวิเคราะห์ดูให้เต็มตา! 13 กฎเหล็ก ก.ล.ต. ฉบับเต็มมาแล้ว 



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ชี้แจงข้อสงสัยเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฉบับใหม่สำหรับนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ โดยมีคำถาม-คำตอบรวมทั้งหมด 13 ข้อ เพื่อสามารถทำความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง มีดังนี้

1. ในกรณีที่นักวิเคราะห์ได้ข้อมูลมาแต่ไม่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลหากใส่ในบทวิเคราะห์มีความผิดหรือไม่?

คำตอบ ความเชื่อมั่นในตลาดทุนจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ลงทุนโดยทั่วไปได้รับข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนที่ถูกต้อง กฎหมายจึงกำหนดว่า การให้ข้อมูลต่อ public ต้องไม่เป็นข้อมูลเท็จหรือเป็นข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน ราคาซื้อขายหลักทรัพย์ หรือข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียน

โดยผู้ให้ข้อมูลรู้ว่าข้อมูลดังกล่าวมีผลกระทบต่อราคาหุ้นหรือต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน หากเป็นข้อมูลคำแนะนำจากนักวิเคราะห์ต้องเป็นข้อมูลที่ผ่านการจัดทำจากข้อมูลที่ถูกต้องโดยยึดตามมาตรฐานวิชาชีพ และหากต้องการวิเคราะห์คาดการณ์อนาคตยังสามารถทำได้เพียงแต่ผู้ที่จะทำ

ก. ต้องไม่นำข้อมูลที่รู้ว่าเท็จหรือไม่ครบถ้วนมาใช้วิเคราะห์คาดการณ์

ข. ต้องไม่เข้าข่ายละเลยที่จะพิจารณาว่าข้อมูลนั้นถูกต้องหรือไม่

ค. ต้องไม่พยายามบิดเบือนข้อมูล

2. ใครครอบครองข้อมูลภายในและนำไปซื้อขายหรือบอกกล่าว โดยรู้ว่าจะถูกนำไปซื้อขาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ใกล้ชิด insider บุพการี พี่น้องและบุตรจะมีความผิดใช่หรือไม่?

ตอบ หลักเรื่อง insider trading เป็นหลักที่มีอยู่ใน กฎหมาย ปัจจุบันอยู่แล้ว และมีใช้ในนานาประเทศทั่วโลก กฎหมายใหม่ เน้นที่การคุ้มครองข้อมูลที่เป็นข้อมูลภายในให้ไปถึงผู้ลงทุนทั่วไปอย่างเท่าเทียม โดยกำหนดให้ผู้รู้หรือครอบครองข้อมูลภายใน และนำไปใช้หาประโยชน์หรือเอาไปบอกคนอื่นซึ่งควรรู้ว่าคนอื่นนั้นอาจนำไปหาประโยชน์ เป็นความผิดโดยมีบทสันนิษฐานบุคคล (ม. 243) ว่าเป็นผู้รู้หรือครอบครองข้อมูลภายใน และหากนำไปหาประโยชน์หรือเอาไปบอกคนอื่น อาจเป็นความผิด ซึ่งผลคือ หากบุคคล/นิติบุคคลกลุ่มนี้ถูกตรวจสอบก็จะต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์หักล้างว่า ไม่ได้ใช้ข้อมูลภายใน

นอกจากนี้ ยังมีบทสันนิษฐานบุคคล (ม. 244) ในกลุ่มบุคคลที่ใกล้ชิดที่ห่างออกไปอีกชั้นหนึ่งโดยหากกลุ่มนี้มีการซื้อขายที่ผิดไปจากปกติของตน ก็จะถูกสันนิษฐานว่าใช้ข้อมูลภายใน ทำให้ต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์หักล้าง

3. ผู้ที่ไม่ได้เป็นนักวิเคราะห์แต่ทำตัวเป็นกูรูหุ้นออกทีวีวิทยุ เฟสบุ๊ค จะมีโทษหรือไม่?

ตอบ กฎหมายใหม่ครอบคลุมทุกคน หากเข้าข่ายบอกกล่าว เผยแพร่หรือให้คำรับรองข้อความอันเป็นเท็จหรือข้อความอันอาจก่อให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับฐานะการเงินผลการดำเนินงาน ราคาซื้อขายหลักทรัพย์ หรือข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยประการที่น่าจะทำให้มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์หรือต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ ก็จะมีความผิดตามกฎหมาย (ม. 240)กรณีวิเคราะห์คาดการณ์กฎหมายใหม่ก็ครอบคลุมทุกคนที่กระทำตามนัยในมาตรา 241เช่นกัน

4. ใครเป็นผู้กล่าวโทษนักวิเคราะห์ หากมีผู้ได้รับความเสียหายจากบทวิเคราะห์?

ตอบ ขึ้นอยู่กับการตรวจพบหรือการแจ้งเบาะแส ซึ่ง ก.ล.ต. ก็จะมีการพิจารณาดำเนินการไปตามขั้นตอนปกติ หากพบว่าบทวิเคราะห์ถูกจัดทำโดยไม่สอดคล้องกันกับข้อ 1

5. head of researchหรือบริษัทหลักทรัพย์(บล.) ผิดหรือไม่ หากนักวิเคราะห์?

ตอบ ผิดในปัจจุบัน มีหลักเกณฑ์กำหนดให้ บล. ต้องมีระบบงานในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานด้านการจัดทำบทวิเคราะห์อยู่แล้ว ซึ่ง บล. ต้องมีมาตรการป้องกันและกำกับดูแลการปฏิบัติงานของนักวิเคราะห์ไม่ให้มีการนำข้อมูลใช้ข้อมูลที่มีนัยสำคัญและยังไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชนไปหาประโยชน์หรือเปิดเผยต่อบุคคลอื่น

รวมทั้งต้องมีการคัดเลือกและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลก่อนนำไปใช้จัดทำบทวิเคราะห์ ซึ่งสอดคล้องตามแนวทางที่กฎหมายที่ปรับปรุงใหม่กำหนด ดังนั้น หากมีการกระทำผิด และพบว่า บล.มีข้อบกพร่อง บล. ก็อยู่ในข่ายที่กระทำผิดตามประกาศที่กำหนด และตามกฎหมายที่ปรับปรุงใหม่ด้วย

6. ละเลยการพิจารณาความถูกต้อง ครอบคลุมอะไรบ้าง ใช้ข้อมูลในหนังสือพิมพ์ได้หรือไม่

ตอบ ไม่ว่าจะมีกฎหมายใหม่หรือไม่ แหล่งข้อมูลที่นักวิเคราะห์ใช้ต้องมาจากแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ ซึ่งปัจจุบัน บล. มีการกำหนดให้นักวิเคราะห์ต้องปฏิบัติ และสมาคมนักวิเคราะห์ก็กำหนดในมาตรฐานวิชาชีพไว้อยู่แล้ว กฎหมายใหม่กำหนดความรับผิดของผู้กระทำ เพื่อให้ข้อมูลที่เผยแพร่ต่อผู้ลงทุนในตลาดทุนมีคุณภาพและมิได้ทำให้ผู้ลงทุนเสียหาย

7. การใส่ disclaimer ว่าไม่รับผิดชอบต่อความผิดพลาดต่อข้อมูลจะยังมีความผิดหรือไม่?

ตอบ คงเป็นเรื่องที่ต้องดูที่เจตนา หากมีเจตนาที่ไม่ถูกต้อง การใส่ disclaimer ก็มิใช่หนทางที่จะทำให้ผู้กระทำหลุดพ้นจากการเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งหลักการนี้เป็นหลักการพื้นฐานของกฎหมาย ซึ่งต้องดูที่เจตนาเป็นหลักด้วย มิได้เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายใหม่

8. การทำ preview งบของนักวิเคราะห์ เพื่อจัดทำบทวิเคราะห์ สามารถทำได้หรือไม่?

ตอบ ยังคงสามารถจัดทำ preview งบได้ แต่ผู้บริหาร บจ. ต้องระมัดระวังไม่เปิดเผยข้อมูลภายในและหากมีกรณีการเปิดเผยข้อมูลภายในออกมา นักวิเคราะห์จะต้องไม่นำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการจัดทำบทวิเคราะห์ ทั้งนี้ เป็นเรื่องที่ถูกคาดหวังอยู่แล้วว่า ในการจัดทำบทวิเคราะห์นักวิเคราะห์ควรใช้มาตรฐานวิชาชีพในการพิจารณาประเมินว่า ข้อมูลที่ได้รับเป็นข้อมูลภายในที่ยังไม่ได้เปิดเผยสู่ public หรือไม่ หากเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้เปิดเผย ก็ห้ามนำไปใช้ต่อในส่วนของกฎหมายใหม่ เป็นเพียงแต่ระบุเป็นความผิดไว้ หากนักวิเคราะห์นำข้อมูลที่รู้หรือควรรู้ว่ายังไม่ได้เปิดเผยไปใช้ ก็เข้าข่ายมีความผิดเรื่อง insider trading ได้

สำหรับผู้บริหาร บจ. ต้องใช้ความระมัดระวังเช่นเดียวกัน โดยให้ข้อมูลสำคัญที่อาจมีผลกระทบต่อราคาหรือการตัดสินใจของผู้ลงทุน แก่ผู้ลงทุนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมในเวลาเดียวกัน มิใช่ให้ข้อมูลภายในแก่กลุ่มบุคคลใด ๆ โดยยังมิได้เปิดเผยสู่ public (ในทางปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลสู่ public สามารถดำเนินการได้ผ่านระบบของตลาด) ทั้งนี้ แม้กระทั่งปัจจุบันก็มีการห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูลภายใน เว้นแต่จะได้เผยแพร่ผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว

9. หาก บลจ. ขอให้ บล.พาไปพบกับผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน แล้ว บลจ. ใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้นบลจ. ผิดหรือไม่?

ตอบ การเข้าพบผู้บริหารสามารถทำได้ แต่การนำข้อมูลมาใช้จะขึ้นกับลักษณะข้อมูล ถ้าไม่ได้นำinside information มาใช้ ถือว่าทำได

10. บล กำลังจะออกบทวิเคราะห์ ซึ่งยังไม่มีใครcover จะเข้าข่าย inside information หรือไม่?

ตอบ การออกบทวิเคราะห์ที่ยังไม่มีใครเคยจัดทำ ไม่เข้าข่ายเป็นความผิด แต่หากข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำเป็นข้อมูลภายในโดยที่รู้ว่าเป็น inside information ก็เข้าข่ายมีความผิดได้

11. นักวิเคราะห์ทำอะไรได้บ้าง?

ตอบ นักวิเคราะห์ยังคงสามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานการปฏิบัติงานตามปกติที่เคยปฏิบัติโดยต้องใช้ข้อมูลที่เป็น public information เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ตามหลักวิชาซึ่งหลักการนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่

12. เมื่อไป visit ทราบว่าบริษัทกำลังจะขยายกำลังการผลิต นักวิเคราะห์initiate paper จะผิดหรือไม่?

ตอบ ขึ้นอยู่กับว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลภายในหรือไม่ เพราะการขยายกำลังการผลิตอาจไม่ใช่ข้อมูลภายในที่มีสาระสำคัญต่อราคาหลักทรัพย์ในทุกกรณี สำหรับนักวิเคราะห์ที่เข้าพบรู้หรือไม่ว่าข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลภายใน หากรู้ว่าเป็นข้อมูลภายในและนำไปใช้ ก็อาจเข้าข่ายความผิด insider trading (ข้อมูลภายใน คือ ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาและยังไม่ได้เปิดเผยต่อประชาชน)

13. ข้อมูลอะไรถือเป็นpublic information (ไม่ใช่ข้อมูลภายใน)หมายถึงข้อมูลที่เปิดเผยผ่านระบบ ตลท. ใช่หรือไม่?

ตอบ การกำหนดประเภทข้อมูลที่ต้องเผยแพร่ผ่านระบบของตลาด เพื่อให้กระจายสู่ผู้ลงทุนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมนั้น มีกำหนดอยู่ในกฎเกณฑ์ของ ตลท. อยู่แล้ว โดยหากเป็นข้อมูลที่อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ ก็จะเข้าข่ายเป็นข้อมูลภายใน ซึ่ง บจ.มีหน้าที่ต้องเปิดเผยผ่านระบบ ตลท. ก่อน หรือหากมีการรั่วไหล บจ. ก็มีหน้าที่ต้องชี้แจงผ่านระบบตลาด เพื่อให้ public ได้รับทราบข้อมูลทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

สำหรับข้อมูลอื่นๆ โดยทั่วไป บจ. สามารถเผยแพร่ได้ตามช่องทางต่างๆ อาทิ เว็บไซต์ของบริษัทหรือผ่านหนังสือพิมพ์ได้ โดยไม่ได้เกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายหลักทรัพย์แต่อย่างใด การสรุปว่า ข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านระบบ ตลท. เท่านั้น จึงจะถือเป็น public information จึงเป็นเรื่องคนละประเด็นกัน





เว็บ ข่าวหุ้น

 

หน้าแรก | เกี่ยวกับเรา | ใบประกอบการ | การเข้าตลาดหลักทรัพย์ | แผนธุรกิจ | ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ | ข้อมูลลงทุน | ติดต่อเรา | สำหรับพนักงาน   
Copyright 2010 c-amc.com All Right Reserved. Website by GM